Skip to content

KittapatR/Thai-ECT-election-map-66

Repository files navigation

แผนที่เขตการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566

กฤตพัฒน์ รัตนภูผา

สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)

วันมหาสงกรานต์ พ.ศ. 2566


หากพบว่าข้อมูลมีความไม่ถูกต้อง

  • สามารถเปิด issues ได้ใน repository นี้ได้เลย
  • สามารถติดต่อมายังอีเมลล์ kittapat.ra@depa.or.th

แผนที่เขตการเลือกตั้งนี้เป็นแผนที่ที่จัดทำเพื่อนำไปใช้เกี่ยวกับการรายงานผลการเลือกตั้งแบบไม่เป็นทางการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยใน repository นี้จะประกอบด้วยไฟล์ดังต่อไปนี้

  1. ESRI ShapeFile เขตการเลือกตั้ง
  2. SVG files เขตการเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ซึ่งสามารถ access element ได้โดย g เป็นชื่อจังหวัดและ id เป็นเลขเขตการเลือกตั้ง
  3. GeoJSON ขอบเขตเทศบาล
  4. GeoJSON ขอบเขตตำบลในประเทศไทยและแขวงในกรุงเทพมหานคร

โดยไฟล์เหล่านี้สามารถใช้ได้เพื่อเป็นประโยชน์ทางสาธารณะซึ่งสิทธิ์เป็นไปตาม MIT license

ไฟล์เหล่านี้จัดเป็นมาตรฐานเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยมีรหัส

  1. PAT code: รหัสจังหวัด ตำบล อำเภอตามที่กำหนดโดยกรมการปกครอง มท.
  2. DLA code: รหัสเทศบาลตามที่กำหนดโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มท.

หมายเหตุ แผนที่เหล่านี้ไม่สามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงตามกฎหมายได้ เป็นเพียงการประมาณเท่านั้น

หลักการเบื้องหลังในการสร้างแผนที่เขตเลือกตั้งตามประกาศ กกต.

เขตการเลือกตั้งอ้างอิงจากราชกิจจานุเบกษา (อ้างอิง: ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด (soc.go.th))

จำนวน ส.ส. พึงมีในแต่ละจังหวัด (อ้างอิง: ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๖๔ (soc.go.th))

การแบ่งเขตการการเลือกตั้งจะมี 2 หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

  1. จำนวน ส.ส. พึงมีในจังหวัดต่าง ๆ (อ้างอิง: พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๖ (soc.go.th))

  2. การแบ่งเขตให้ได้ตามจำนวน ส.ส. พึงมีในจังหวัด (อ้างอิง: พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ (soc.go.th))

จำนวน ส.ส. พึงมีในจังหวัด

ตามมาตรา 6 พ.ร.ป. รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 กล่าวไว้ดังนี้

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติประรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๒๖ การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดำเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสี่ร้อยคน จำนวนที่ได้รับให้ถือว่าเป็นจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน

(๒) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนตาม (๑) ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

(๓) จังหวัดใดมีราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน

(๔) เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตาม (๒) และ (๓) แล้วถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบสี่ร้อยคน และให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณนั้นในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบสี่ร้อยคน

(๕) จังหวัดใดมีการเลือกตั้งได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้นเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมี โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน"

การแบ่งเขตเลือกตั้งตามจำนวน ส.ส. พึงมี

ตามมาตรา 27 พ.ร.ป. รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2561 กล่าวไว้ดังนี้

มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไว้ทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าซึ่งจะต้องกำหนดตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ และต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกัน โดยถือเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) ให้รวมอำเภอต่าง ๆ เป็นเขตเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่ติดต่อใกล้ชิดกัน ความสะดวกในการคมนาคมระหว่างกัน และการเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน ถ้าการรวมอำเภอในลักษณะนี้จะทำให้มีจำนวนราษฎรมากหรือน้อยเกินไป ให้แยกตำบลของอำเภอออกเพื่อให้ได้จำนวนราษฎรพอเพียงสำหรับการเป็นเขตเลือกตั้ง แต่จะแยกหรือรวมเฉพาะเพียงบางส่วนของตำบลไม่ได้

(๒) ในกรณีที่การกำหนดพื้นที่ตามเกณฑ์ใน (๑) จะทำให้จำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนไม่ใกล้เคียงกันหรือไม่มีสภาพเป็นชุมชนเดียวกัน ให้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งตามสภาพของชุมชนที่ราษฎรมีการติดต่อกันเป็นประจำในลักษณะที่เป็นชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกันและสามารถเดินทางติดต่อกันได้โดยสะดวก โดยจะต้องทำให้จำนวนราษฎรมีจำนวนใกล้เคียงกับมากที่สุด

(๓) เปิดโอกาสให้พรรมการเมืองและประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งตาม (๑) และ (๒) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

เบื้องหลัง Algorithm ที่ไว้ใช้สร้างแผนที่ตามประกาศ กกต. กำหนด

แผนที่ที่ใช้มีดังต่อไปนี้

ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างแผนที่มีดังต่อไปนี้

นอกจากนี้จะมีขั้นตอนในการแยกจังหวัด (โดยใช้ QGIS) และบันทึกข้อมูลเป็น .svg (โดย MapShaper) เพื่อสะดวกในการพัฒนาเว็บผลการเลือกตั้ง

About

Thailand's constituencies map for 2023 Thai general election

Resources

License

Stars

Watchers

Forks

Releases

No releases published

Packages

No packages published